Sunday, May 12, 2024
Latest:
ประชาสัมพันธ์

เส้นทางชีวิตครอบครัวที่พลาด กับการเลี้ยงดูบุตรหลาน

ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวแม้ได้ผ่านเส้นทางชีวิตที่พลาด ก็ไม่ใช่ครอบครัวไร้คุณภาพ จากการศึกษาข้อมูลเชิงประจักษ์ในเบื้องต้น ครอบครัวเหล่านี้มีความตั้งใจเลี้ยงดูบุตรหลานอย่างจริงจังในทุกๆ ด้านมากกว่าครอบครัวที่สมบูรณ์ ไม่ว่าการใช้เวลาร่วมกัน การให้คำปรึกษาการดำเนินชีวิต และการดูแลติดตามพฤติกรรมเสี่ยง กล่าวได้ว่าเส้นทางชีวิตครอบครัวเหล่านี้อาจฟื้นตัวได้เร็วและก้าวไปข้างหน้าได้ดี การด้อยค่าครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวเป็นความเข้าใจผิด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีนโยบายทางสังคมขจัดความคิดเช่นนี้ออกไป ในขณะที่ประเทศไทยมีปัญหาใหญ่เรื่องการเกิดลดต่ำลงอย่างมาก การรณรงค์ส่งเสริมการเกิดโดยเน้นคุณภาพการเกิด บางครั้งกลับไปด้อยค่าครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว โดยเฉพาะแม่เลี้ยงเดี่ยว การรณรงค์ส่งเสริมการเกิดโดยสมัครใจทำได้ทุกกรณี ไม่จำเป็นต้องยึดโยงหรือใช้คำว่า “การเกิดที่มีคุณภาพ” ซึ่งจะ “ตีตรา” ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวโดยไม่จำเป็น และทำให้การรณรงค์ส่งเสริมการเกิดของประเทศล่าช้าไป

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการศึกษางานวิจัยผลกระทบของประสบการณ์ของการมีครอบครัวแตกแยกของสามีหรือภรรยา ในช่วงอายุที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ คือบุตรที่มีอายุอยู่ในช่วงวัยรุ่นตอนต้น  พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวเหล่านั้นจะป้องกันไม่ให้เกิดการก้าวพลาดในเส้นทางชีวิต แบบเดียวกับตัวเขาไม่ให้เกิดขึ้นกับบุตร เพื่อให้บุตรได้เติบโตต่อมาอย่างรอบรู้เท่าทันชีวิต และให้เกิดโอกาสก้าวพลาดในชีวิตน้อยที่สุด ได้หรือไม่

ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ในการศึกษาครั้งนี้ คือข้อมูลจากการสำรวจของโครงการ “การสร้างครอบครัวอบอุ่นในจังหวะหัวเลี้ยวหัวต่อของเยาวชนในครอบครัวเปราะบาง ผ่านการใช้คู่มือ Thai Family Matters (TFM) และนวัตกรรม FFFamily” (ได้รับรองจริยธรรมการวิจัยในคน โดย คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม (คจ.วปส.) หมายเลข  COA. No. 2018/08-244) ช่วงเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2561 ใน 4 จังหวัด ใน 4 ภาค คือ สระบุรี  อุบลราชธานี  ลำพูน และสตูล  ผู้เข้าเกณฑ์ในการสำรวจมีสองกลุ่ม คือ นักเรียนอายุ 12 – 14 ปี เรียนอยู่ในโรงเรียน 12 แห่ง ใน 4 จังหวัดดังกล่าว ตอบแบบสอบถามออนไลน์ด้วยตนเอง จำนวนทั้งหมด 403 ราย (จังหวัดละประมาณ 100 คน) ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ 369 ราย และพ่อแม่ผู้ปกครองของนักเรียนที่ตอบแบบสอบถาม (แบบกระดาษ หรือ paper-based) ด้วยตนเอง 372 คน ประกอบด้วยจังหวัดสระบุรี 96 คน จังหวัดอุบลราชธานี 93 คน  จังหวัดลำพูน  88 คน  และจังหวัดสตูล  95 คน 

  การดูแลบุตร/หลานโดยพ่อแม่/ผู้ปกครอง จากคำตอบของพ่อแม่ผู้ปกครองสถานภาพสมรส 
โสด   N =13แต่งงาน (อยู่ด้วยกัน) N = 265แต่งงาน (แยกกันอยู่) N = 15หม้าย หย่า แยก N = 50ไม่ตอบ   N = 29รวม   N = 372
1. ปรึกษาหลักการการดำเนินชีวิต      
1.1 คุณกับบุตร/หลานมักจะนั่งคุยและปรึกษากันถึงปัญหาของเขา46.2 (6)34.3 (91)20.0 (3)52.0 (26)24.1 (7)35.8 (133)
1.2 คุณมักจะแสดงการสนับสนุนเมื่อบุตร/หลานพูดในสิ่งที่ต้องการทำเมื่อเขาโตขึ้น61.5 (8)35.1 (93)40.0 (6)36.0 (18)20.7 (6)35.2 (131)
1.3 คุณมักจะพูดคุยกับบุตร/หลาน เสมอๆ เกี่ยวกับค่านิยมและความเชื่อที่ครอบครัวยึดถืออยู่46.2 (6)28.7 (76)33.3 (5)38.0 ((19)20.7 (6)30.1 (112)
2. ใช้เวลาร่วมกัน      
2.1 คุณกับบุตร/หลาน มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของครอบครัว38.5 (5)40.8 (108)46.7 (7)42.0 (21)31.0 (9)40.3 (150)
2.2 คุณจัดสรรเวลาอยู่กับบุตร/หลาน  หรือหาเวลาอยู่กับบุตร/หลาน53.8 (7)58.1 (154)53.3 (8)60.0 (30)27.6 (8)55.6 (207)
3. การกำกับดูแลปัจจัยเสี่ยง      
3.1 คุณมักจะพูดคุยกับบุตร/หลาน ในเรื่องการคบเพื่อนและแนวทางที่จะอดกลั้นและทนต่อความกดดันต่างๆ จากเพื่อน61.5 (8)39.2 (104)46.7 (7)54.0 (27)20.7 (6)40.9 (152)
3.2 เคยพูดคุยกับบุตร/หลานในเรื่อง เกี่ยวกับ    การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ และยาเสพติด38.5 (5)39.6 (105)26.7 (4)54.0 (27)41.4 (12)41.1 (153)
3.3 คุณเคยพูดคุยกับบุตร/หลาน เรื่องเกี่ยวกับ   การมีแฟน23.1 (3)25.7 (68)6.7 (1)32.0 (16)20.7 (6)25.3 (94)
3.4 คุณเคยพูดคุยกับบุตร/หลาน เรื่องการมีเพศสัมพันธ์23.1 (3)24.2 (64)33.3 (5)30.0 (15)20.7 (6)25.0 (93)
4. สอนเรื่อง  Financial Literacy      
4.1 คุณเคยพูดคุยกับบุตร/หลานเรื่องการประหยัดการออม และการใช้เงินที่ถูกต้อง53.8 (7)56.2 (149)40.0 (6)72.0 (36)51.7 (15)51.3 (213)
4.2 คุณเคยพูดคุยกับบุตร/หลานเรื่องรายรับรายจ่ายของครอบครัวและการเข้าถึงแหล่งทุนในระบบ46.2 (6)33.6 (89)46.7 (7)44.0 (22)24.1 (7)35.2 (131)

ตาราง 1 ความจริงจังของพ่อแม่/ผู้ปกครอง ในการดูแลบุตร/หลานในด้านต่างๆ แสดงโดยร้อยละที่พ่อแม่/ผู้ปกครองตอบว่า  “โดยส่วนใหญ่หรือเกือบทุกวัน” จำแนกตามสถานภาพการสมรสของพ่อแม่ผู้ปกครอง (N=312)

ตารางที่ 1 พบว่า พ่อแม่ผู้ปกครองที่มีสถานภาพสมรส “หม้าย/หย่า/แยก” หรือพ่อหรือแม่หรือผู้ปกครองเลี้ยงเดี่ยว จะให้ความจริงจังกับการดูแลบุตรหลานมาก โดยตอบว่าดูแล “โดยส่วนใหญ่หรือเกือบทุกวัน” ในหัวข้อการดูแลต่างๆ  สูงระหว่างร้อยละ 30.0 ถึง 72.0 และเมื่อดูเฉพาะหัวข้อการดูแล “โดยส่วนใหญ่หรือเกือบทุกวัน” ที่มีมากกว่า 50% หรือโดยพ่อแม่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ หัวข้อเหล่านั้นมีความสำคัญต่อการเลี้ยงดูบุตรหลานอย่างยิ่ง ได้แก่ การนั่งคุยและปรึกษากันถึงปัญหา (52.0%) การจัดสรรเวลาอยู่ด้วยกัน (60.0%) การพูดคุยในเรื่องการคบเพื่อนและแนวทางที่จะอดกลั้นและทนต่อความกดดันต่างๆ จากเพื่อน (54.0%) เรื่องการดื่มเหล้า สูบบุหรี่และยาเสพติด (54.0%) เรื่องการประหยัด การออม และการใช้เงินที่ถูกต้อง (72.0%). แสดงให้เห็นว่า พ่อแม่ผู้ปกครองที่มีสถานภาพสมรส “หม้าย/หย่า/แยก” หรือพ่อหรือแม่หรือผู้ปกครองเลี้ยงเดี่ยว ให้ความจริงจังกับการดูแลบุตรหลานมากกว่าพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีสถานภาพสมรส “แต่งงานและอยู่ด้วยกัน” ในด้านต่างๆ ทั้ง 4 ด้าน เริ่มด้วยในด้านการให้คำปรึกษาหลักการการดำเนินชีวิต พ่อแม่ผู้ปกครองเลี้ยงเดี่ยวมีความจริงจังในเรื่องนี้ คือ โดยส่วนใหญ่หรือเกือบทุกวัน สูงถึง 52.0% เปรียบเทียบกับพ่อแม่ผู้ปกครองที่แต่งงานและอยู่ด้วยกัน ซึ่งทำเรื่องนี้อย่างจริงจังน้อยกว่า คือเพียง 34.3% เท่านั้น เรื่องการใช้เวลาร่วมกัน พ่อแม่ผู้ปกครองเลี้ยงเดี่ยวก็ทำได้มากกว่า สำหรับการกำกับดูแลปัจจัยเสี่ยง พ่อแม่ผู้ปกครองเลี้ยงเดี่ยวทำได้มากกว่าพ่อแม่ผู้ปกครองที่แต่งงานและอยู่ด้วยกัน อย่างเห็นได้ชัด เช่น การคบเพื่อนจะสูงถึง 54.0% มากกว่าพ่อแม่ผู้ปกครองที่แต่งงานและอยู่ด้วยกัน โดยส่วนใหญ่หรือเกือบทุกวันเพียง 39.2% สำหรับการพูดคุยกับบุตรหลานเรื่องเหล้าบุหรี่ ยาเสพติด การมีแฟน เพศสัมพันธ์ พ่อแม่ผู้ปกครองเลี้ยงเดี่ยว ทำได้จริงจังกว่าอย่างเห็นได้ชัด และท้ายที่สุดการสอนเรื่องความรอบรู้ทางการเงิน พ่อแม่ผู้ปกครองเลี้ยงเดี่ยวจะพูดคุยกับบุตรหลานในเรื่องการประหยัด การออม เกือบทุกวันหรือโดยส่วนใหญ่ ในระดับสูงถึง 72.0% เปรียบเทียบกับพ่อแม่ผู้ปกครองที่แต่งงานและอยู่ด้วยกัน ซึ่งจะทำเรื่องนี้อย่างจริงจังเพียง 56.2% เท่านั้น การพูดคุยเรื่องรายรับรายจ่ายของครอบครัว พ่อแม่ผู้ปกครองเลี้ยงเดี่ยวทำได้ดีกว่าคู่สมรสและอยู่ด้วยกันอีกเช่นกัน คือ 44% เปรียบเทียบกับ 33.6% โดยสรุป พ่อแม่ผู้ปกครองที่มีสถานภาพสมรสเป็นหม้าย/หย่า/แยก มีความจริงจังในการดูแลบุตรหลานในทุกๆ ด้าน คือ ทำโดยส่วนใหญ่หรือทำเกือบทุกวัน ในระดับที่สูงกว่าพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีสถานภาพสมรสแต่งงานและอยู่ด้วยกัน อย่างเห็นได้ชัดในทุกๆ ด้าน

  การดูแลบุตร/หลานโดยพ่อแม่/ผู้ปกครอง จากคำตอบของบุตรหลานสถานภาพสมรส 
โสด   N =13แต่งงาน (อยู่ด้วยกัน) N = 261แต่งงาน (แยกกันอยู่) N = 15หม้าย หย่า แยก N = 51ไม่ตอบ   N = 29รวม   N = 369
1. ปรึกษาหลักการการดำเนินชีวิต      
1.1 นั่งคุยและปรึกษากันถึง ปัญหาของเรา7.7 (1)20.7 (54)53.3 (8)21.6 (11)17.2 (5)21.4 (79)
1.2 พูดคุยกับเรา เสมอๆ เกี่ยวกับค่านิยมและความเชื่อที่ครอบครัวยึดถืออยู่0.0 (0)13.0 (34)20.0 (3)3.9 (2)10.3 (3)11.4 (42)
2. ใช้เวลาร่วมกัน      
2.1 มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของครอบครัวร่วมกัน15.4 (2)25.3 (66)46.7 (7)23.5 (12)13.8 (4)24.7 (91)
3. การกำกับดูแลปัจจัยเสี่ยง      
3.1 พูดคุยกับเรา ใน เรื่องการคบเพื่อนและแนวทางที่จะอดกลั้นและทนต่อความกดดันต่างๆ จากเพื่อน23.1 (3)15.7 (41)20.0 (3)15.7 (8)13.8 (4)16.0 (59)
3.2 พูดคุยกับเราในเรื่อง เกี่ยวกับการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ และยาเสพติด7.7 (1)7.3 (19)13.3 (2)3.9 (2)6.9 (2)7.0 (26)
3.3 พูดคุยกับเรา ในเรื่องเกี่ยวกับการมีแฟน15.4 (2)5.7 (15)0.0 (0)0.0 (0)6.9 (2)5.1 (19)
3.4 พูดคุยกับเรา ในเรื่องเกี่ยวกับเพศและการมีเพศสัมพันธ์0.0 (0)3.4 (9)0.0 (0)0.0 (0)3.4 (1)2.7 (10)
4. สอนเรื่อง Financial Literacy      
4.1 พูดคุยกับเราเรื่องการประหยัดการออม และการใช้เงินที่ถูกต้อง30.8 (4)28.7 (75)20.3 (3)31.417.2 (5)27.9 (103)
4.2 พูดคุยกับเราเรื่องรายรับรายจ่ายของครอบครัวและการเข้าถึงแหล่งทุนในระบบ0.0 (0)14.2 (37)13.3 (2)11.8 (6)6.9 (2)12.7 (47)

ตาราง 2 ความคิดเห็นต่อความจริงจังของพ่อแม่/ผู้ปกครอง ในการดูแลบุตร/หลานในด้านต่างๆ  แสดงโดยร้อยละที่บุตรหลานตอบว่า “โดยส่วนใหญ่หรือเกือบทุกวัน” จำแนกตามสถานภาพการสมรส ของพ่อแม่ผู้ปกครอง (N=369)

ตารางที่ 2 แสดงถึงความจริงจังของพ่อแม่ผู้ปกครองในการดูแลบุตรหลานในด้านต่างๆ จำแนกตามสถานภาพสมรสของพ่อแม่ผู้ปกครอง ในตารางนี้จึงเป็นมุมมองของบุตรหลานเอง จะเห็นได้ว่าเมื่อเปรียบเทียบกับตาราง 1 โดยรวมบุตรหลานเห็นความจริงจังของพ่อแม่ผู้ปกครองน้อยกว่า สิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองกล่าว นอกจากนั้น บุตรหลานของพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีสถานภาพสมรสหม้าย/หย่า/แยก เปรียบเทียบกับบุตรหลานของพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีสถานภาพสมรสแต่งงานและอยู่ด้วยกัน มีความแตกต่างกันบ้างเท่านั้น และไม่ชัดเจน หรือคงเส้นคงวา เหมือนการศึกษาจากพ่อแม่ผู้ปกครองในตารางที่ 1 ในบางเรื่อง เช่นการพูดคุยกันเรื่องการประหยัดและการออม บุตรหลานของพ่อแม่ผู้ปกครองเลี้ยงเดี่ยวมีความเห็นว่าพ่อแม่ผู้ปกครองของเขามีความจริงจังในเรื่องนี้ มากกว่าพ่อแม่ผู้ปกครองของบุตรหลานของพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีสถานภาพสมรสแต่งงานและอยู่ด้วยกัน เล็กน้อยคือ 31.4% เปรียบเทียบกับ 28.7% โดยส่วนใหญ่แล้วบุตรหลานของพ่อแม่ผู้ปกครองเลี้ยงเดี่ยวมักจะมีความเห็นว่าพ่อแม่ผู้ปกครองของเขามีความจริงจังในการดูแลเขาไม่สูงนัก บุตรหลานของพ่อแม่ผู้ปกครองที่แต่งงานและอยู่ด้วยกัน มีความเห็นว่าพ่อแม่ผู้ปกครองของเขามีความจริงจังในการดูแลเขาสูงกว่าเล็กน้อย โดยสรุปเมื่อดูจากความคิดเห็นของบุตรหลาน ไม่พบว่าบุตรหลานของพ่อแม่ผู้ปกครองเลี้ยงเดี่ยวจะคิดว่าพ่อแม่ผู้ปกครองของตนดูแลตนอย่างจริงจังมากนัก ระดับความจริงจังในด้านต่างๆ จากความบอกเล่าของบุตรหลานมีน้อยกว่าจากคำบอกเล่าของพ่อแม่ผู้ปกครอง ทั้งสองกลุ่ม และความแตกต่างทางสถานภาพสมรสก็มีไม่มากนัก

ความต้องการการดูแลจากพ่อแม่/ผู้ปกครองในด้านต่างๆสถานภาพสมรส 
โสด   N =13แต่งงาน (อยู่ด้วยกัน) N = 261แต่งงาน (แยกกันอยู่) N = 15หม้าย หย่า แยก N = 51ไม่ตอบ   N = 29รวม   N = 369
1. ปรึกษาหลักการการดำเนินชีวิต      
1.1 พูดคุยในเรื่องทั่วไปหรือปัญหาที่เกี่ยวกับ    ตัวคุณ76.9 (10)71.6 (187)60.0 (9)66.7 (34)62.1 (18)69.9 (258)
1.2 พูดคุยเกี่ยวกับค่านิยมและความเชื่อที่ครอบครัวยึดถืออยู่61.5 (8)73.2 (191)86.7 (13)72.5 (37)62.1 (18)72.4 (267)
2. ใช้เวลาร่วมกัน      
2.1 คุณกับพ่อแม่/ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการ  ทำกิจกรรมต่างๆของครอบครัว92.3 (12)88.5 (231)86.7 (13)92.2 (47)89.7 (26)89.2 (329)
3. การกำกับดูแลปัจจัยเสี่ยง      
3.1 พูดคุยในเรื่องการคบเพื่อนและการ    อดกลั้นจากแรงกดดันต่างๆ จากเพื่อน53.8 (7)65.5 (171)73.3 (11)72.5 (37)41.4 (12)64.5 (238)
3.2 พูดคุยกับพ่อแม่/ผู้ปกครอง ในเรื่องเกี่ยวกับการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ และยาเสพติด38.5 (5)43.3. (113)40.0 (6)49.0 (25)51.7 (15)44.4 (164)
3.3 พูดคุยกับพ่อแม่/ผู้ปกครอง ในเรื่องเกี่ยวกับการมีแฟน30.8 (4)43.3 (113)46.7 (7)39.2 (20)31.0 (9)41.5 (153)
3.4 พูดคุยกับพ่อแม่/ผู้ปกครอง ในเรื่องเกี่ยวกับเพศ และการมีเพศสัมพันธ์23.1 (3)36.4 (95)26.7 (4)23.5 (12)24.1 (7)32.8 (121)

ตาราง 3 ร้อยละของบุตรหลานที่มีความต้องการการดูแลจากพ่อแม่/ผู้ปกครองในด้านต่างๆ จำแนกตามสถานภาพการสมรสของพ่อแม่/ผู้ปกครอง (N=369)

ตารางที่ 3 จะเห็นได้ว่า บุตรหลานมีความต้องการความช่วยเหลือและความเอาใจใส่จากพ่อแม่ผู้ปกครองในระดับสูงมาก เกินกว่าครึ่งหนึ่งต้องการการใช้เวลาร่วมกัน (89.2%) และการให้คำปรึกษาหลักการในการดำเนินชีวิต (69.9% – 72.4%) นอกจากนี้ บุตรหลานส่วนใหญ่ยังต้องการการพูดคุยเรื่องการคบเพื่อน (64.5%) บุตรหลานบางส่วนต้องการการพูดคุยเรื่องเหล้า บุหรี่ ยาเสพติด การมีแฟนและเรื่องเกี่ยวกับเพศ (32.8% – 44.4%) เมื่อเปรียบเทียบตามสถานภาพสมรสพบว่าไม่แตกต่างกันมากนัก ที่พอเห็นได้คือ การใช้เวลาร่วมกันและการพูดคุยเรื่องการคบเพื่อน บุตรหลานของพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีสถานภาพหม้าย/หย่า/แยก มีความต้องการมากกว่า และในทางกลับกันความต้องการการปรึกษาหลักการในการดำเนินชีวิตมีน้อยกว่าครอบครัวที่อยู่ด้วยกันสมบูรณ์ อย่างไรก็ตามบุตรหลานในวัยนี้โดยรวมแล้ว ข้อมูลได้ชี้ให้เห็นว่าเป็นวัยที่เปราะบางและต้องการการเอาใจใส่เลี้ยงดูที่จริงจัง โครงการสร้างเสริมครอบครัวเข้มแข็งในวัยนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ไม่ว่าครอบครัวเหล่านั้นจะมีลักษณะใด

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อภิชาติ  กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยได้พยายามเปลี่ยนผ่านจากสังคมชะลอการเกิด ไปสู่สังคมส่งเสริมการเกิด แต่ยังไม่สมบูรณ์ ยังจำเป็นต้องมีการส่งเสริมการเกิดในทุกรูปแบบอย่างจริงจัง เช่นไม่ควรมีการ “ตีตรา” ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวโดยไม่จำเป็น นโยบายประชากรคงไม่ใช่แค่ pronatalist policy ที่จะสนับสนุนนโยบายเกี่ยวกับการเกิด แต่ควรจะแก้ไขปัญหาด้านโครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคม สถาบันครอบครัวและกรอบแนวคิดและทัศนคติทั้งหมดด้วย disruptive pronatalist policy เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย

เอกสารอ้างอิง

Hoegl, M., & Hartmann, S. (2021). Bouncing back, if not beyond: Challenges for research on resilience. Asian Business & Management, 20, 456–464.

Richardson, G. E. (2002). The metatheory of resilience and resiliency. Journal of Clinical Psychology, 58(3), 307–321.

Amato, P. R., & Cheadle, J. E. (2008). Parental divorce, marital conflict and children’s behavior problems: A comparison of adopted and biological children. Social Forces, 86(3), 1139-1161.

McLanahan, S., & Sandefur, G. D. (2009). Growing up with a single parent: What hurts, what helps. Harvard University Press. Scott, J. (2004). Family, gender, and educational attainment in Britain: A longitudinal study. Journal of Comparative Family Studies, 35:565–589.

American Psychological Association. (2014). The road to resilience. American Psychological Association. DC: Washington.

Ungar, M. (2011). The social ecology of resilience: Addressing contextual and cultural ambiguity of a nascent construct. American Journal of Orthopsychiatry, 81(1), 1-17. 

Ungar, M. (Ed.). (2012). The social ecology of resilience: A handbook of theory and practice. New York: Springer

Southwick, S.M., Douglas-Palumberi, H., & Pietrzak, R.H. (2014). Resilience. In M.J. Friedman, P. Resick, & T.M. Keane (Eds.), Handbook of PTSD: Science and practice (2nd ed., pp. 590-606). New York: Guilford Press.