นายกขี่ม้าไทย ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ ส่งผู้แทนเข้าพบทำอัครราชทูตฝ่ายเกษตร เพื่อแสดงความขอบคุณที่ให้การสนับสนุนและติดตามการพิจารณาส่งม้ากีฬาไปยังสหภาพยุโรป (EU) ได้อีกครั้ง
เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2568 ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ นายกสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มอบหมายให้นายนารา เกตุสิงห์ เลขาธิการสมาคม เข้าพบนายสัตว์แพทย์ ดร.สงขลา จุลกะเศียน อัครราชทูต (ฝ่ายเกษตร)/ผู้อำนวยการ สํานักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจําสหภาพยุโรป ณ กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม เพื่อแสดงความขอบคุณต่อการสนับสนุนและติดตามการพิจารณาคืนสภาพปลอดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness – AHS) จากคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) เพื่อให้การแข่งขันกีฬาในระดับนานาชาติในอนาคตเป็นไปอย่างสมบูรณ์ และสามารถส่งม้ากีฬาและม้ามีชีวิตที่ขึ้นทะเบียน สามารถกลับไปยังสหภาพยุโรป (EU) ได้อีกครั้ง
ในโอกาสนี่ ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ นายกสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอแสดงความขอบคุณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมปศุสัตว์ สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำสหภาพยุโรป ตลอดจน 17 ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน (Public Private Partnership – PPP) ประกอบด้วย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ กรมการสัตว์ทหารบก หน่วยม้าทรงประจำพระองค์ฯ กองพันทหารม้าที่ 29 รักษาพระองค์ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬาม้าแข่งไทย สมาคมกีฬาขี่ม้าโปโลแห่งประเทศไทย นายกสัตวแพทยสภา ประธานภาคีคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย สมาคมสัตวแพทย์สวนสัตว์และสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย มูลนิธิม้าไทย และชมรมสัตวแพทย์บำบัดโรคม้า
ที่เคยได้ลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) เมื่อวันที่ 14 กรกฏาคม 2563 โดยการดำเนินการของกรมปศุสัตว์ เพื่อเป็นการยืนยันความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการสนับสนุนกิจกรรมดำเนินการมาตรการควบคุมและกำจัดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้าให้หมดไปจากประเทศไทย ทั้งด้านการสร้างความตระหนักในการร่วมมือด้านนโยบายและการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม บูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานในด้านทรัพยากร บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ และด้านงบประมาณให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อให้ประเทศไทยได้รับการรับรองเป็นประเทศที่ปลอดจากโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้าจากองค์กรสุขภาพสัตว์โลก (WOAH) ภายในปี 2565 ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และได้มีส่วนร่วมสร้างความเชื่อมั่นในระบบควบคุมโรคของไทยต่อสหภาพยุโรป
ก่อนหน้านี้ ไทยได้รับการสถานะปลอดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness – AHS) จากองค์การสุขภาพสัตว์โลก (WOAH) แล้ว ประเทศไทยได้รับการคืนสถานะปลอดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness – AHS) จากองค์การสุขภาพสัตว์โลก (WOAH) เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2566 (2023) การคืนสถานะนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ประเทศไทยไม่พบการระบาดของโรค AHS เป็นเวลากว่า 2 ปี นับตั้งแต่กรณีสุดท้ายที่บันทึกเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2563 (2020)
การคืนสถานะปลอดกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness – AHS) จากองค์การสุขภาพสัตว์โลก (WOAH) เป็นผลพิสูจน์ว่า อย่างไรก็ตามในมุมของการแข่งขันกีฬา ไทยนั้นยังต้องได้รับการยกเลิกคำสั่งระงับการนำเข้าม้าที่จดทะเบียนนำเข้าสหภาพยุโรป จากคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) เพื่อให้การแข่งขันกีฬาในระกับนานาชาติเป็นไปอย่างสมบูรณ์ กล่าวคือการแข่งขันขี่ม้าในนะดับนานาชาตืนั้น จะเกิดขึ้นทั้งในเอเชียและยุโยปอย่างต่อเนื่องจึงมีความจำเป็นต้องได้รับการอนุญาตในการเคลื่อนม้ากลับยุโรปหลังการแข่งขันอย่างเป็นทางการ
ซึ่งเป็นเวลากว่า 5 ปีหลังจากการระบาของโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness – AHS) ในประเทศไทยที่สหภาพยุโรปมีการติดตามเป็นเพื่อการพิจารณาคืนสภาพปลอดโรคดังกล่าว กระทั้งในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 (2025) คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ได้อนุญาตให้ประเทศไทยสามารถส่งออกม้าที่จดทะเบียนไปยังสหภาพยุโรป (EU) ได้อีกครั้ง
EU ประกาศเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2568 ที่จะอนุญาตให้ไทยกลับมา เคลื่อนย้ายม้ามีชีวิต (Registered Horses) เข้าสู่สหภาพยุโรปได้อีกครั้งโดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2568 เป็นต้นไป
และในโอกาสเดียวกันนี้สมาคม ขอขอบคุณสมาชิกชมรมสโมสร ที่จะช่วยกันร่วมสนับสนุนและส่งเสริมความเชื่อมั่นอย่างยิ่งยืน สู่ก้าวสำคัญในการจัดเตรียมแข่งขันระดับนานาชาติที่ประไทยได้รับความไว้วางใจให้เป็นเจ้าภาพ จากสหพันธ์กีฬาขี่ม้านานาชาติ ในรายการ The 2nd FEI Asian Championships และ SEA Games 2025 ระหว่างวันที่ 24 พฤศจิกายน – 20 ธันวาคม 2568 ณ สนามไทยโปโล แอนด์อีเควสเทรี่ยนคลับ พัทยา ต่อไป
ตามข้อมูลเพิ่มเติทจากลิงค์ด้านล่างนี่
https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX%3A32025R0899&utm_source=chatgpt.com